วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

วิจัยการจัดการสอน

วิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการเรียนรู้แบบโครงงานกับการเรียนการสอนแบบปกติ ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี

ชื่อผู้วิจัย นายองอาจ พรมประไพ

วิธีการสอนที่ใช้ วิธีการสอนแบบโครงงาน


สอนอย่างไร

ขั้นตอนที่ 1 การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องการตั้งชื่อโครงงาน

ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบการทำโครงงาน การวางแผนรูปแบบโครงงานที่ทำประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
(1) การตั้งชื่อโครงงาน
(2) การเขียนความเป็นมาของโครงงาน
(3) การเขียนวัตถุประสงค์ของโครงงาน
(4) การเขียนแผนผังความคิดของโครงงานแบบWeb
(5) การเขียนแผนผังโครงงานแบบตาราง
(6) การเขียนขั้นตอนการดำเนินการ
(7) การเขียนผลการศึกษา
(8) การเขียนประโยชน์ที่ได้รับ
(9) วิธีการนำเสนอผลการศึกษา
(10) การเขียนแหล่งอ้างอิง
(11) การเขียนความรู้สึกที่มีต่อการทำโครงงานชิ้นนี้
ขั้นตอนที่ 3 การลงมือทำโครงงาน ลงมือปฏิบัติงานตามที่วางแผนไว้ในขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่ 4 การเขียนรายงานโครงงาน เขียนรายงานโครงงานจากข้อมูลที่ไปศึกษาค้นคว้ามาตรวจสอบกับสมมุติฐานลงในแบบบันทึก
ขั้นตอนที่ 5 การนำเสนอผลงาน เขียนบรรยายวิธีการนำเสนอผลงาน
ขั้นตอนที่ 6 การวัดผลประเมินผล เขียนความรู้สึกที่มีต่อการทำโครงงานแลกเปลี่ยนตรวจสอบกับเพื่อน ผู้ปกครอง ครู


ผลการวิจัย ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบโครงงาน

ที่มา http://ongat.multiply.com/journal/item/11



วิจัยเรื่อง วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชที่ฉันชอบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2549
ชื่อผู้วิจัย
นางนัฐกาญจน์ บุตรสมบัติ

วิธีการสอนที่ใช้ วิธีการสอนแบบบูรณาการ


สอนอย่างไร

ขั้นที่ 1 วิเคราะห์หลักสูตรและเลือกหัวเรื่อง (Theme)

ขั้นที่ 2 การพัฒนาหัวเรื่องกำหนดแหล่งข้อมูลเพื่อช่วยให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนแบบบูรณา

การได้

ขั้นที่ 3 แหล่งข้อมูล กำหนดแหล่งข้อมูลเพื่อช่วยให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอน

แบบบูรณาการได้

ขั้นที่ 4 การพัฒนากิจกรรมการเรียน

ขั้นที่ 5 การสร้างกิจกรรม

ขั้นที่ 6 การประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน

ขั้นที่ 7 การประเมินผลกิจกรรม

ขั้นที่ 8 การเปลี่ยนแปลงข้อมูลกิจกรรมเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป


ผลการวิจัย

1. นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มมากที่สุด

2. นักเรียนได้เรียนรู้โดยวิธีการที่หลากหลาย

3. นักเรียนมีความสุขที่ได้ศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย

4. นักเรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น

5. นักเรียนได้ฝึกในการเป็นผู้นำและผู้ตาม

6. ช่วยให้พัฒนาด้านการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

7. ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในการค้นหาความรู้ด้วยตนเอง

8. นักเรียนมีความสุขและชอบที่ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องๆ ที่ได้เรียนอย่างอิสระ



ที่มา http://bbs.pramool.com/webboard/view.php3?katoo=I05356




วิจัยเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549
ชื่อผู้วิจัย
นายจรูญ ฤทธิ์เดช
วิธีการสอนที่ใช้ วิธีสอนแบบ สุ. จิ. ปุ. ลิ.


สอนอย่างไร

ขั้นที่ 1. คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

ขั้นที่ 2. ขั้นสุ. คือ สุตวา หมายถึง การรับฟังเรื่องราวที่จะสอน

ขั้นที่ 3. ขั้นจิ. คือ จินตนาการ เป็นการฝึกให้คิดติดตามเรื่องที่ครูสอน

ขั้นที่ 4. ขั้นปุ. คือ ปุจฉา เป็นขั้นที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามครู

ขั้นที่ 5. ขั้นลิ. คือ ลิขิต แปลว่าเขียน เป็นผลแสดงโดยรวมจากการฟัง คือ สุตวา การคิด คือ จินตนา การพูด การถาม คือ ปุจฉา การเขียน คือ ลิขิต ทุกขั้นตอนต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นลำดับ


ผลการวิจัย

1. แบบทดสอบหลังสอน สูงกว่าแบบทดสอบก่อนสอน

2. ความพึงพอใจของนักเรียน

ที่มาhttp:// learners.in.th/file/kuuann/kuuann4.doc



วิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

วิชา ส 0210 ประวัติศาสตร์ยุคประชาธิปไตย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย ..2475

ชื่อผู้วิจัย นางคนึงนิจ วิภารัตน์

วิธีการสอนที่ใช้ วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน


สอนอย่างไร

1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นจูงความสนใจของผู้เรียนเข้าสู่บทเรียน

2 ขั้นการสอน มีลำดับขั้นดังนี้

1) แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มตามจำนวนที่เหมาะสม ให้ใช้วิธีการแบ่งกลุ่มที่น่าสนใจ

2 ) ให้แต่ละกลุ่มเลือกประธาน เลขานุการ

3) แจกเอกสาร บัตรคำถาม หรือสื่อการเรียนที่กลุ่มจำเป็นต้องใช้ในการทำกิจกรรมกลุ่ม

4) ให้ทำกิจกรรมที่ได้รับหมอบหมายตามเวลาที่กำหนด

5) ให้แต่ละกลุ่มรายงานผลงานของกลุ่มตามที่ผู้สอนกำหนด

3 ขั้นสรุป

1) ให้ผู้เรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปความสำคัญจากการรายงานของแต่ละกลุ่ม และผู้สอนให้ข้อเสนอแนะพร้อมแนวคิดในการประยุกต์ใช้

2) สนทนาและซักถามผู้เรียนถึงประเด็นปัญหาสำคัญเพื่อการวัดผล


ผลการวิจัย

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น

2. นักเรียนสามารถบรรลุจุดประสงค์การเรียนได้ในระดับที่ใกล้เคียงกัน

ที่มา school.obec.go.th/resdata/sungkom.doc



วิจัยเรื่อง วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2547

ชื่อผู้วิจัย นางเบญจมาศ ดำเนิน

วิธีการสอนที่ใช้ วิธีการสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง


สอนอย่างไร

1. ศึกษาหลักสูตร เป้าหมายและผลการเรียนรู้ของวิชาสังคมศึกษา

2. จัดทำแผนการสอนโดยกำหนดให้มีวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง

3. จัดกลุ่มนักเรียนเพื่อเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าตามแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง

4. สร้างแบบทดสอบ

5. จัดทำสื่อเพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้

6. จัดกิจกรรมการเรียนด้วยวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง

7. ทดสอบหลังเรียน

8. วิเคราะห์ผลการการทดสอบ


ผลการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น





วิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาทักษะพัฒนาเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ เรื่อง Position and Job Function ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์

ชื่อผู้วิจัย นางสาวกาญจนภา มานิตย์

วิธีการสอนที่ใช้ วิธีการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model)


สอนอย่างไร

ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม

ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่

ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม

ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้

ขั้นที่ 6 การปฏิบัติและหรือการแสดงผลงาน

ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้


ผลการวิจัย

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น

2. ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ

ที่มา http://www.vcharkarn.com/vblog/40633





วิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเปลือยสีแก้ว

ชื่อผู้วิจัย ชลมาศ จันทะคาม

วิธีการสอนที่ใช้ วิธีการสอนแบบSTAD


สอนอย่างไร

ขั้นที่ 1 ผู้เรียนเตรียมความพร้อม แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ทบทวนความรู้เดิม

ขั้นที่ 2 เรียนรู้เนื้อหาสาระ

ขั้นที่ 3 กิจกรรมกลุ่ม

- นักเรียนแบ่งกลุ่มแบบคละความสามารถ กลุ่มละ 4 คน

- นักเรียนในแต่ละกลุ่มแยกย้ายกันไปศึกษาใบความรู้ เข้ากลุ่มเนื้อหา

นักเรียนกลับเข้ากลุ่ม อธิบายเนื้อหา ความรู้ของตนให้เพื่อนในกลุ่มฟัง

ขั้นที่ 4. นำเสนอผลงานในกลุ่มใหญ่ สุ่มตัวอย่างนักเรียนกลุ่มเนื้อหา ให้นำเสนอผลงาน

กลุ่มละ 1 คน

ขั้นที่ 5. ทดสอบรายบุคคล

ขั้นที่ 6. รวมคะแนนเป็นกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดชนะ


ผลการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น

ที่มา http://www.vcharkarn.com/vblog/60132





วิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง อุปสงค์ อุปทาน

ชื่อผู้วิจัย นายวิชัย วงศ์สุวรรณ

วิธีการสอนที่ใช้ วิธีกการสอนตามแนวคิดของกานเย


สอนอย่างไร

ขั้นที่ 1 กระตุ้นเร้าความสนใจของผู้เรียน เพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น

ขั้นที่ 2 แจ้งวัตถุประสงค์ ทำให้ผู้เรียนตั้งความคาดหวัง

ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม ทำให้พร้อมรับความรู้ใหม่

ขั้นที่ 4 นำเสนอสิ่งเร้าหรือเนื้อหาสาระใหม่ ให้เห็นลักษณะที่สำคัญอย่างชัดเจน

ขั้นที่ 5 การให้แนวการเรียนรู้หรือจัดระบบข้อมูลให้มีความหมาย เพื่อให้เรียนรู้ได้ง่าย และเร็วขึ้น

ขั้นที่ 6 กระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนองแสดงความสามารถ เพื่อให้ทราบถึงผลการเรียนรู้

ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ เสริมแรงให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

ขั้นที่ 8 ประเมินผลการแสดงออกของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนทราบว่าบรรลุวัตถุประสงค์เพียงใด

ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความคงทนและการถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการฝึกฝนในหลายสถานการณ์ ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง


ผลการวิจัย

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น

2. ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ





วิจัยเรื่อง วิธีการสอนแบบบทบาทสมมติ เพื่อช่วยพัฒนาการพูด ประโยคภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ชื่อผู้วิจัย นายเรืองศักดิ์ ภาคีพร

วิธีการสอนที่ใช้ วิธีการสอนแบบบทบาทสมมติ


สอนอย่างไร

1. เลือกปัญหาที่นักเรียนทำความเข้าใจยาก จำยากสับสน หรือกล่าวตามสภาพจริงไม่ได้มา

เป็นเรื่องที่จะแสดงบทบาท

2. ให้นักเรียนร่วมกันกำหนดตัวบุคคลให้เหมาะสมกับบทบาทนั้นๆ เท่าที่ลักษณะของ

บุคคลจะเอื้ออำนวยให้กับสภาพความเป็นจริง

ผลการวิจัย

1. นักเรียนมีความสุข สนุกสนาน

2. สามารถพูดประโยคภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง แม่นยำยิ่งขึ้น

3. ผู้เรียนมีความคิดอย่างมีระบบ และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อน

ที่มา http://61.19.25.227/research.html





วิจัยเรื่อง รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมแบบผังมโนทัศน์เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ชื่อผู้วิจัย นางราณี พัตตาสิงห์

วิธีการสอนที่ใช้ วิธีการสอนแบบผังมโนทัศน์


สอนอย่างไร

ขั้นที่ 1 ผู้สอนเตรียมข้อมูลสำหรับให้ผู้เรียนฝึกหัดจำแนก

ขั้นที่ 2 ผู้สอนอธิบายกติกาในการเรียนให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจตรงกัน

ขั้นที่ 3 ผู้สอนเสนอข้อมูลตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน และข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน

ขั้นที่ 4 ให้ผู้เรียนบอกคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งที่ต้องการสอน

ขั้นที่ 5 ให้ผู้เรียนสรุปและให้คำจำกัดความของสิ่งที่ต้องการสอน

ขั้นที่ 6 ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายร่วมกันถึงวิธีการที่ผู้เรียนใช้ในการแสวงหาคำตอบให้ผู้เรียนได้เรียนรู้


ผลการวิจัย

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น

2. ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจในการเรียน





เพิ่มเติม


ความหมายของการวิจัย
คำว่า "การวิจัย" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Research" Re มีความหมายว่า "อีก" Search แปลว่า "การค้นหา" ดังนั้นคำว่า "การวิจัย: Research" จึงแปลว่า การค้นหาแล้วค้นหาอีก และความหมายของคำว่า "การวิจัย" มีผู้ให้ความหมายไว้หลายอย่างเช่น
พจนานุกรมฉบับนักเรียน (2536 :470) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า การสะสมการรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา
อนันต์ ศรีโสภา (2521 : 16) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่าเป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการทดสอบสมมุติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้น ๆ เพื่อนำไปใช้พยากรณ์หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อควบคุมสิ่งหนึ่งให้คงที่
รวีวรรณ ชินะตระกูล (2535: 1 - 2) ได้ให้ความหมายของการวิจัย RESEARCH จำแนกตามตัวอักษรภาษาอังกฤษไว้ดังนี้
R = Recruitment & Relationshipหมายถึง การฝึกตนให้มีความรู้ รวบรวมรายชื่อผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานร่วมกันติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน
E = Education & Efficiency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ และประสิทธิภาพสูงในการวิจัย
S = Sciences & Stimulation หมายถึง เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้าเพื่อหาความจริง และผู้วิจัยจะต้องมีพลังกระตุ้นในความคิดริเริ่มมีความกระตือรือล้นที่จะทำวิจัย
E = Evaluation & Environment หมายถึง รู้จักประเมินผลดูว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่จะทำการวิจัยต่อไปหรือไม่และต้องรู้จักใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิจัย
A = Aim & Attitude หมายถึง มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน และมีเจตคติที่ดีต่อการติดตามผลการ
R = Result หมายถึง ผลการวิจัยที่ได้มาจะเป็นผลในทางไหนก็ตามจะต้องยอมรับผลการวิจัยนั้น ๆ เนื่องจากเป็นผลที่ได้จากการค้นคว้าศึกษาหาความรู้อย่างเป็นระบบ
C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็นมีความสนใจและขวนขวายในงานวิจัยอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าความอยากรู้นั้นจะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม
H = Horizon หมายถึง เพื่อผลการวิจัยปรากฏออกมาแล้วย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้เหมือนกับการเกิดแสงสว่างขึ้น ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่างขึ้น ผู้วิจัยจะต้องดำเนินต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่าง
ไพโรจน์ ตีรณธนากุล (2534 : 1)ได้ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่าการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายอย่างแน่นอนแล้วนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ เปรียบเทียบความหมายตลอดจนหาเหตุผล และความเป็นมาของข้อมูลทำการสรุปอย่างมีระบบ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และทางสถิติ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงและหลักการบางอย่าง
จากที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปได้ว่าการวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริง ที่มีระบบและวิธีการที่น่าเชื่อถือเพื่อนำความรู้ความจริงที่ได้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา หรือก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ



จุดมุ่งหมายของการวิจัย
จุดมุ่งหมายของการวิจัยเมื่อพิจารณาตามเป้าหมายในการวิจัยแบ่งได้ 2 ประการคือ
1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการ เป็นการแสวงหาความรู้ หรือความจริงเพื่อสร้างเป็นกฎ สูตรทฤษฎี ในแต่ละสาขาวิชา ไม่คำนึงถึงเรื่องการนำผลการวิจัยไปใช้ เพราะการวิจัยแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพียงต้องการรู้เรื่องราวต่าง ๆ เท่านั้น เช่น การวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติการโคจรของดาวหางเป็นต้น
2. เพื่อนำไปประยุกต์หรือใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ มีจุดมุ่งหมายในการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงปฏิบัติโดยตรง เช่น การวิจัยแก้ปัญหาการจราจรการวิจัยปัญหาการเรียนการสอน การวิจัยเพื่อศึกษาขวัญและกำลังใจในการทำงานเป็นต้น


ประโยชน์ของการวิจัยทางการศึกษา
การวิจัยนั้นถ้าดูตามเป้าหมายจะมี2 ลักษณะ คือ การวิจัยพื้นฐาน (Pure Research or Basic Research) และการวิจัยประยุกต์(Applied Research) ซึ่งการวิจัยพื้นฐานมีเป้าหมายที่จะแสวงหาความรู้ความจริง เพื่อสร้างกฎ สูตร ทฤษฎีในแต่ละสาขาวิชา เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องอื่นๆ ต่อไป ส่วนการวิจัยประยุกต์ มุ่งนำผลจากการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ
การวิจัยทางการศึกษา มีทั้งการวิจัยพื้นฐานและวิจัยประยุกต์จึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ

1.ได้ข้อความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น ผลการวิจัยทำให้เราทราบว่ามนุษย์แต่ละคนมีความถนัดในการเรียนวิชาการสาขาต่างๆ แตกต่างกันออกไป การศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการสอน ทำให้ทราบว่าเทคนิคการสอนที่ต่างกันนั้น ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน แตกต่างกันไปอย่างไร
2. ช่วยให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุดจากการได้ความรู้และ ความเข้าใจต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทำให้นักการศึกษาสามารถที่จะจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้
3. ก่อให้เกิดประดิษฐ์กรรมและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการศึกษา ผลของการวิจัยในทางการศึกษาส่วนหนึ่งก่อให้เกิดแนวคิด วิธีการเครื่องมือ ตลอดจนวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการศึกษาให้ดีขึ้น



ขั้นตอนการวิจัย
การดำเนินการวิจัย ยึดถือและปฏิบัติตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักมีลำดับขั้นของการทำวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา(Problem Identification) เมื่อต้องการศึกษาเรื่องใด ต้องตั้งปัญหาที่จะศึกษาให้ชัดเจนซึ่งในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องตั้งชื่อเรื่อง และนิยามปัญหาที่จะวิจัย ว่าในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายอย่างไรการที่จะนิยามปัญหาได้ชัดเจน ต้องมีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
ขั้นที่ 2 การตั้งสมมุติฐาน (Formulation Hypothesis) การตั้งสมมุติฐานเป็นการทำนายผลการวิจัย เป็นการเดาว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ศึกษานั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร
ขั้นที่ 3 การรวบรวมข้อมูล(Collection of Data) ผู้วิจัยจะต้องวางแผนว่าจะใช้วิธีการใดเก็บรวบรวมข้อมูลและหาวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อที่จะนำข้อมูลมาใช้ในการตอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล(Data Analysis) ผู้วิจัยจะต้องใช้ วิธีการทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์ผลการวิจัยและแปลความหมายของข้อมูล
ขั้นที่ 5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปผลว่าการวิจัยครั้งนี้ได้ผลอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งอภิปรายผล และให้ข้อเสนอแนะ แล้ว ทำเป็นรายงานการวิจัย เพื่อเป็นเอกสารแสดงผลการศึกษาค้นคว้า
ในการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยจะต้องทำการวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อให้งานวิจัยเป็นไปอย่างมีแบบแผน ซึ่งอาจแยกแยะขั้นตอนทั้งการวางแผนและลงมือปฏิบัติจริงได้ดังนี้
1. เลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยเป็นการกำหนดของงานวิจัยว่า จะทำการศึกษาในเรื่องใดสาขาวิชาใด มีขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน ปัญหาที่ทำการวิจัยนั้นต้องมีคุณค่าและเหมาะสมกับความสามารถ เวลาและเงินทุนสำหรับการวิจัย
2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยต้องศึกษาทฤษฎี หลักการ ความรู้พื้นฐานผลงานวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้เห็นแนวทางในการวิจัย
3. เขียนเค้าโครงการวิจัยเพื่อให้การวิจัยดำเนินไปตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผู้วิจัยจะต้องเขียนรายละเอียดของกระบวนการวิจัยไว้ล่วงหน้าว่าจะต้อง ทำอะไรบ้าง ตามลำดับแต่ต้นจนจบ โดยมีปฏิทินการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งกำหนดค่าใช้จ่ายเครื่องมือในการวิจัยไว้ด้วย
4. การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ทำหลังจากเขียนเค้าโครงการวิจัย เรียบร้อยแล้ว ก็มีการนำเครื่องมือไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ในเค้าโครงการวิจัย
5. การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีที่กำหนดไว้ในเค้าโครงการวิจัย
6. สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ขั้นนี้เป็นการสรุปผลที่ได้จาก การวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่จะทำการวิจัย ในลักษณะคล้าย คลึงกันหรือนำผลการวิจัยไปใช้
7. เขียนรายงานการวิจัยงานวิจัยจะเสร็จสมบูรณ์ต้องมีการรายงานวิจัยออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร โดยขั้นนี้จะรายงานข้อเท็จจริงที่ค้นพบตามแนวการเขียนรายการวิจัย เพื่อสะดวกแก่ผู้ที่มาศึกษาค้นคว้าต่อไป




ประเภทของการวิจัย
งานวิจัยแบ่งออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการจัดประเภทในที่นี้ขอกล่าวถึงประเภทของงานวิจัยเมื่อใช้เกณฑ์ 4 ประเภท ดังนี้
1. แบ่งตามประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Pure Research) เป็นการวิจัยที่ไม่ได้มุ่งที่จะนำผลของการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ทันทีในชีวิตจริงแต่มีความต้องการที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ ข้อเท็จจริงพื้นฐานทางทฤษฎีหรือกฎที่เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ที่ศึกษาเป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์เป็นเป้าหมายหลัก
1.2 การวิจัยประยุกต์(Applied Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งนำผลการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติเช่น เพื่อนำไปแก้ปัญหา เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจเพื่อนำไปพัฒนาโครงการเป็นต้น
2. แบ่งตามลักษณะวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และสรุปต่างๆ มีการใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น
2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษาสังเกต และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์
3. แบ่งตามประเภทของศาสตร์ แบ่งได้2 ประเภท คือ
3.1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(SciencesResearch) เป็นการวิจัยที่เน้นในเรื่องของการทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและวัตถุต่างๆ รวมทั้งมุ่งนำเอาความรู้ที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น งานวิจัยทางด้านการแพทย์อุตสาหกรรม เคมี ชีววิทยา เป็นต้น
3.2 การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research) เป็นการวิจัยที่เน้นในเรื่องการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์รวมทั้งสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ เช่น การวิจัยทางการศึกษา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง เป็นต้น
4. แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยหมายถึง แบบแผนในการวิจัยซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล และ การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตอบปัญหาที่ทำการวิจัย
การแบ่งประเภทของการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากซึ่งแบ่งได้ 3 ประเภทคือ
4.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research) เป็น การวิจัยที่มุ่งแสวงหาคำตอบให้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตโดยศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยจะต้องนำเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์แนวคิดต่าง ๆ ที่ค้นพบ มาประมวล แปลความ วิเคราะห์และสังเคราะห์ ตัวอย่างเช่น
- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย พ..2493-2529

-พัฒนาการของห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย ระหว่างปี พ..2459-2532
4.2 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็น การวิจัยที่ค้นหาความจริงโดยอาศัยการทดลองเพื่อให้ได้คำตอบในเชิงเหตุผลว่ามี สิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งใดเป็นผลที่เกิดตามมา การวิจัยประเภทนี้จะมีการควบคุมตัวแปรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทดลอง ตัวอย่างเช่น
- การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยอ่านบทเรียนก่อนและหลังการเรียน (ธนัฐ กรอบทอง.)
- การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเรื่อง กฎและวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ที่เรียนจากหน่วยการ เรียนกับการสอนปกติ
4.3 การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาคำตอบ คำอธิบาย ของสภาพการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ที่อยู่ในช่วงปัจจุบันที่กำลังมีการวิจัยโดยชี้ให้เห็นว่าปรากฏการณ์นั้นเป็นอย่างไร เช่น เกิดขึ้นบ่อยครั้งเพียงใดมีลักษณะที่สำคัญ ๆ อะไรบ้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อย คือ
4.3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Studies) เป็นการศึกษาเพื่อที่จะรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงปัจจุบันที่มีการเก็บข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงานในการวางแผนหรือปรับปรุงสภาพที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นตัวอย่างเช่น
- ความคิดเห็นของครู-อาจารย์ที่มีต่อการจัดโครงการ อาหารกลางวัน
- การสำรวจประชามติ (public opinion survey) เช่น สำรวจความนิยมของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล
- การวิเคราะห์งาน (job analysis) เป็นการศึกษารายละเอียดของงาน
- การวิเคราะห์เอกสาร (documentary analysis) เป็นการศึกษารายละเอียดของเอกสารในปัจจุบันเช่น หนังสือแบบเรียน หลักสูตร
4.3.2 การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Correlational Studies) เป็นการวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมต่างๆ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ
. การศึกษาเฉพาะกรณี (Case studies) เป็นการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อให้ทราบรายละเอียดทุกแง่ทุกมุมเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
. การศึกษาเปรียบเทียบ (Causal comparative studies) การศึกษาแบบนี้ยังไม่เป็นการทดลองเป็นเพียงการศึกษาผลที่ปรากฏว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ไม่มีการควบคุมตัวแปร
. การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์(Correlation studies) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร2 ตัวขึ้นไปว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่
4.3.3 การศึกษาพัฒนาการ (Developmental Studies) เป็นการวิจัยในลักษณะเฝ้าติดตามดูความเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งใด ๆ ที่ฝันแปรไปตามเวลา แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
. การศึกษาภาวะการเจริญเติบโต (Growth studies) เช่นการศึกษาพัฒนาการทางร่างกายของเด็กก่อนวัยเรียนเป็นต้น
. การศึกษาแนวโน้ม (Trend Studies) เช่น การศึกษาถึงแนวโน้มของอาชีพที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดสกลนครอีก15 ปีข้างหน้า การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในทศวรรษหน้า เป็นต้น




ลักษณะของนักวิจัยที่ดี



การวิจัยเป็นงานที่มีระบบระเบียบเพื่อสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนักวิจัยได้ดีจะต้องได้รับการฝึกหัดที่ถูกต้อง และมีความรับผิดชอบสูงดัง ได้สรุปลักษณะของนักวิจัยที่ดีไว้ 6 ประการ ดังนี้
1. กรณีที่นักวิจัยต้องการนำข้อความรู้ความคิดเห็นหรือข้อค้นพบของบุคคล อื่นมาใช้ประโยชน์ จะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความรู้หรือบุคคลที่เป็นผู้ค้นพบข้อความรู้นั้นๆ
2. นักวิจัยจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาจะต้องไม่มีการบิดเบือนปิดบัง ตกแต่ง หรือกำหนดตัวเลขค่าสถิติ ขึ้นเองโดยไม่มีการเก็บข้อมูลต่างๆ มาจริง
3 นักวิจัยจะต้องรายงานผลการวิจัยอย่างตรงไปตรงมาใช้ภาษาที่ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ถูกต้องชัดเจน ไม่ปิดบังซ่อนเร้นหรือเขียนรายงานการวิจัยให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลกลุ่มใดๆ โดยไม่มีผลการวิจัยที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจน
4. ก่อนที่นักวิจัยจะเก็บข้อมูลจากบุคคล หน่วยงาน หรือสถาบันใด ๆ จะ ต้องมีการติดต่อขออนุญาตล่วงหน้า และลงมือเก็บรวบรวมข้อมูลหลังจากที่ได้รับอนุญาตแล้ว
5. นักวิจัยจะต้องไม่กระทำการใดๆ ในลักษณะของการบังคับจิตใจหรือ ฝืนความรู้สึกของผู้ให้ข้อมูล และทำการวิจัยในลักษณะทดลองจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้เข้ารับการทดลอง
6. ในการรายงานผลการวิจัย นักวิจัยจะรายงานผลการวิเคราะห์ในลักษณะของผลรวมทั้งหมด ไม่นำเอาข้อมูลเฉพาะบุคคลมาเปิดเผยหรือกล่าวอ้างชื่อของบุคคลที่ให้ข้อมูล